วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

งานที่ 6

1.มาตรฐานของ IEEE 802.3 โดยได้รับการออกแบบโดย Xerox ในปีใด
ก.1970
ข.1990
ค.1960
ง.1970
ตอบข้อ ก 1970 เป็นเทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10 Mbps แต่ในในปัจจุบันนี้ได้มีเทคโนโลยีความเร็วที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet

2.มาตรฐานที่ใช้ความเร็ว 10 Mbps ใช้สายแบบใด
ก.token
ข.cable
ค.coaxial
ง.twisteb
ตอบข้อ ค Coaxial แบบบางหรือ เรียกว่า thin Ethernet รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) เป็นแบบ BUS ระยะทางในการรับส่งข้อมูลประมาณ 185-200 เมตร

3.Ethernet เป็นโปรโตคอลของระบบ lan ตามมาตราฐานหนึ่งของ IEEE ซึ่งมีอยู่ด้วยกันมีกี่มาตราฐาน
ก.4 มาตราฐาน
ข.3 มาตราฐาน
ค.2 มาตราฐาน
ง.5 มาตราฐาน
ตอบข้อ ข 3 มาตราฐานหลัก ๆ คือ ARCnet , Token Ring และ Ethernet ซึ่งคุณสมบัติ ข้อกำหนด ขีดจำกัด ลักษณะการใช้งาน

4. 10base5 มีชื่อเรียกว่าอะไร
ก.fast Ethernet
ข.Thin Ethernet
ค.Thick Ethernet
ง.cheapernet
ตอบข้อ ค Thick Ethernet

5.10 baset มีระยะความยาวในการรับส่งข้อมูลกี่เมตร
ก 100 เมตร
ข.2000 เมตร
ค.185-200 เมตร
ง.50 เมตร
ตอบข้อ ก 100 เมตร

6.สายที่ใช้cable fiber optic มาตรฐานการเชื่อมต่อคือ
ก.10 base2
ข.10 base5
ค.10 basef
ง.100 baset
ตอบข้อ ค 10basef

7.10 base2 topologyที่ใช้คือ
ก.star
ข.cable
ค.ring
ง.bus
ตอบ ข้อ ง bus

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

งานที่ 5

ETHERNET
อัตราความเร็ว 10 Mbpsอัตราความเร็ว 100 Mbpsอัตราความเร็ว 1000 Mbpsอัตราความเร็ว 10 Gbpsบางทีจะเรียกว่า ......... ตามมาตรฐาน IEEE 802.3ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3uซึ่งเรียกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3z/802.3abซึ่งเรืยกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3aeซึ่งเทคโนโลยีความเร็วดังที่กล่าวมานี้ จะตั้งอยู่บนมาตรฐาน ของ Ethernet แบบเดียวกัน คือ สายที่สามารถใช้ได้ ก็จะเป็นพวกสาย โคแอคเชียล ( Coaxial Cable ) สายแบบ เกลียวคู่ ( Twisted Pair Cable - UTP ) และสายแบบ ใยแก้วนำแสง ( Fiber Optic Cable ) ส่วนโทโปโลยี ที่ใช้ก็จะอยู่ในรูปแบบของ BUS กับ Ring เสียเป็นส่วนใหญ่จากระบบเครือข่ายแบบ Ethernet ที่กล่าวมาทั้งหมด จะมีจุดสำคัญอยู่ที่ ได้นำเอาคุณสมบัติดังที่กล่าวมา มาใช้ มาเชื่อมต่อให้อยู่ในรูปแบบ ที่ต้องการใช้ตามมาตรฐานของ Ethernet ซึ่งจะมีมาตรฐานการเชื่อมต่ออยู่ด้วยกันหลายแบบ มาตรฐานในการเชื่อมต่อ อย่างเช่น 10base2 , 10base5 , 10baseT , 10baseFL , 100baseTX , 100baseT4 และ 100baseFX ซึ่งมาตรฐานรูปแบบนี้ จะขึ้นอยู่กับ ความเร็วในการรับส่งข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ และ ระยะทางที่สามารถส่งได้ อย่างเช่น 10base2 เป็นมาตรฐานที่ใช้ความเร็ว 10 Mbps ใช้สายแบบ Coaxial แบบบางหรือ เรียกว่า thin Ethernet รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) เป็นแบบ BUS ระยะทางในการรับส่งข้อมูลประมาณ 185-200 เมตร เป็นต้นETHERNETมาตรฐาน การเชื่อมต่ออัตราความเร็ว การรับส่งข้อมูลระยะความยาว ในการรับส่งข้อมูลTopology ที่ใช้สายที่ใช้ Cableชื่อเรียก10base210 Mbps185 - 200 เมตรBUSThin CoaxialThin Ethernet หรือ Cheapernet10base510 Mbps500 เมตรThick CoaxialThick Ethernet10baseT10 Mbps100 เมตรSTARTwisted Pair (UTP)10baseF10 Mbps2000 เมตรFiberOptic100baseT100 Mbps......... เมตรTwisted Pair (UTP)Fast Ethernet



Ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน (LAN) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คิดค้นโดยบริษัท Xerox ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ คำว่าอีเทอร์เน็ต (Ethernet) หมายถึง ความหมายที่มีอยู่ทั่วไปของอีเทอร์เน็ตซึ่งมีหลากหลายมาตรฐาน อีเทอร์เน็ตพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Xerox (โดยได้แนวคิดมาจากโครงการสื่อสารผ่านดาวเทียม Aloha ที่พัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัย Hawaii) เพื่อเป็นมาตรฐานสำคัญของเครือข่าย LAN ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ระบบที่ใช้อีเทอร์เน็ตนั้นเหมาะกับงานที่ต้องการรับส่ง/ข้อมูลในอัตราความเร็วสูงเป็นช่วง ๆ เป็นครั้งคราว การรับ/ส่งข้อมูลในเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ตแต่ละครั้งเครื่องเป็นไปอย่างไม่มีวินัย นั่นคือเมื่อตรวจสอบแล้วว่าในขณะนั้นไม่มีเครื่องอื่น ๆ กำลังส่งข้อมูล แต่ละอย่างเครื่องจะแย่งกันส่งข้อมูลออกมา โดยเครื่องใดที่ส่งข้อมูลออกมาจะมีหน้าที่เฝ้าดูว่ามีเครื่องอื่นทำการส่งข้อมูลออกไปพร้อมกันด้วยหรือไม่ เพราะถ้าเกิดการส่งพร้อมกันแล้วจะก่อให้เกิดการชนกันของข้อมูล แต่ถ้าตรวจจับได้ว่ามีการขนกันขึ้นก็จะหยุดส่งแล้วรอคอยเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนจะทำการส่งข้อมูลออกไปอีกครั้งหนึ่ง เวลาที่ใช้ในการรอคอยนั้นเป็นค่าที่สุ่มขึ้นมา ซึ่งมีความสั้นยาวต่างกันไป เทคนิคหลายอย่างเช่นที่นำมาใช้ในการรอคอยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันซ้ำสอง หนึ่งในนั้นคือ คำนวณการเพิ่มระยะเวลารอคอยแบบ Exponential ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection (CSMA/CD) เนื่องจากการ์ดอีเทอร์เน็ตที่ใช้ในเครือข่ายแบบนี้สร้างมาจากหลายผู้ผลิต จึงมีองค์กรมาตรฐานขึ้นมากำหนดหมายเลขประจำให้ผู้ผลิตแต่ละราย เพื่อสร้างความมั่นใจให้การ์ดแต่ละใบจะไม่มีแอดเดรสที่ซ้ำกัน การส่งข้อมูลของอีเทอร์เน็ตนั้นจะเป็นไปในแบบเฟรมที่มีความยาวไม่แน่นอน แม้ว่าเฟรมข้อมูลของอีเทอร์เน็ตจะมีแอดเดรสต้นทางและปลาย แต่เทคโนโลยีอีเทอร์เน็ตเองกลับเป็นการส่งข้อมูลแบบกระจายสัญญาณ (Broadcast) ซึ่งในเครื่องเครือข่ายเดียวกันจะได้รับเฟรมข้อมูลเดียวกันทุกเฟรม โดยเลือกเฉพาะเฟรมที่มีแอดเดรสปลายทางเป็นของตนเองเท่านั้น ส่วนเฟรมอื่น ๆ จะไม่สนใจ แต่ในบางกรณ๊ที่มีการทำงานในโหมด Promiscuous ซึ่งเป็นโหมดที่นำเฟรมข้อมูลทุกเฟรมไปใช้งานโดยส่งต่อไปยังซอฟแวร์ที่ทำงานอยู่ในระดับที่สูงขึ้นไป เช่น กรณีของเครื่องที่ทำหน้าที่วิเคราะห์โปรโตคอล (Protocal Analyzer) หรืออาจจะเป็นการกระทำของผู้ที่ไม่ประสงค์ดีของพวกแฮกเกอร์ก็ได้ กรณีเช่นนี้จะเห็นถึงความปลอดภัยของมาตรฐานนี้

อีเธอร์เน็ต ( Ethernet) เป็นชื่อเรียกวิธีการสื่อสารในระดับล่างหรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ของระบบ LAN ชนิดหนึ่งคะ พัฒนาขึ้นโดย 3 บริษัทใหญ่คือบริษัท Xerox Corporation, Digital Equipment Corporation (DEC) และ Intel ในปี ค.ศ. 1976 ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10 Base-T คะ โดยปกติสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub แต่ถ้าเป็นการส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายที่ความเร็ว 100Mbps จะเรียกว่า Fast Ethernet หากความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 1000Mbps หรือ 1Gbps จะเรียกว่า Gigabit Ethernet ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ

ที่มา

guru.google.co.th/guru/thread?tid=68e9a256635f4617

IEEE 802.1 การบริหารจัดการระบบเครือข่าย IEEE 802.2 ถูกออกแบบใน LLC ไม่ต้องการให้เครื่องรู้จักกับ MAC sub layer กับ physical layerIEEE 802.4 มาตรฐาน IEEE 802.4 เป็นมาตรฐานกำหนดโปรโตคอลสำหรับเลเยอร์ชั้น MAC IEEE 802.3 สำหรับเป็น โปรโตคอลมาตราฐานเครือข่าย EtherNet ที่มีอัตราเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps IEEE 802.5 เครือข่ายที่ใช้โทโปโลยีแบบ Ring IEEE 802.6 กำหนดมาตรฐานของ MAN ซึ่งข้อมูลในระบบเครือข่ายถูกออกแบบมาให้ใช้งานในระดับเขต และเมือง IEEE 802.7 ใช้ให้คำปรึกษากับกลุ่มเทคโนโลยีการส่งสัญญาณแบบ BroadbandIEEE 802.8 ใช้ให้คำปรึกษากับกลุ่มเทคโนโลยีเคเบิลใยแก้วนำแสงIEEE 802.9 ใช้กำหนดการรวมเสียงและข้อมูลบนระบบเครือข่ายรองรับIEEE 802.10 ใช้กำหนดความปลอดภัยบนระบบเครือข่ายIEEE 802.11 มาตรฐาน IEEE 802.11 และเป็นเทคโนโลยีสำหรับ WLAN IEEE802.12 ใช้กำหนดลำดับความสำคัญของความต้องการเข้าไปใช้งานระบบเครือข่าย IEEE 802.14 ใช้กำหนดมาตรฐานของสาย ModemIEEE 802.15 ใช้กำหนดพื้นที่ของเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล IEEE 802.16 ใช้กำหนดมาตรฐานของ Broadband แบบไร้สาย หรือ WiMAX

IEEE 802.2
เป็นข้อกำหนดเพิ่มเติมที่IEEE สร้างขึ้นในทุกมาตรฐาน 802 คือการแยกระดับชั้น Data link เป็น2ส่วนย่อย คื0 LLC และ MAC- LLC (Logical Link Control) เป็นส่วนเชื่อมต่อกับชั้น Networkอินเทอร์เฟสของ LLC ในเครือข่ายแต่ละชนิด(802.3,802.4,802.5)จะมีรูปแบบเชื่อมต่อกับชั้นNetwork เหมือนกันในการอินเทอร์เฟสกับระดับชั้นNetwork นั้น ระดับชั้น LLC จะให้บริการแก่ระดบชั้น Network 3รูปแบบคือการบริการแบบ Datagram ที่ไม่รับประกันความเชื่อถือของการส่งข้อมูลการบริการแบบDatagram ท่มีการตอบรับจากฝั่งรับ และการบริการแบบ Connection-orientedส่วน MAC (Media Access Control) เป็นส่วนที่เชื่อมต่อกับชั้น Physical ทำหน้าที่ จัดการ access เข้าไปยัง Physical Layer แบ่งเขตให้กับเฟรมข้อมูลและควมคุมความผิดพลาด

IEEE 802.3มาตรฐาน 802.3 เริ่มต้นมาจากบริษัท Xerox ได้สร้างระบบเครือข่ายเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ 100สถานีภายใน โดยมีความยาวของเครือข่ายถึง 1กิโลเมตร และอัตราส่งข้อมูลได้ถึง 2.94Mbps ระบบนี้เรียกว่า Ethernet ต่อมา บริษัท Xerox ,Dec และ Intel ได้ร่วมกันพัฒนามาตรฐาน Ethernet ซึ่งมีอัตราส่ง 10 Mbps ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นพื้นฐานของIEEE 802.3 IEEE ได้กำหนดมาตรฐาน Ethernet ซึ่งทำงานที่ความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาที ไว้หลายประเภทตามชนิดสายสัญญาณ

ส่วนมาตรฐานอีเทอร์เน็ทความเร็ว 10เมกะบิตต่อวินาที ที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ 100Base-TX และ 100Base-FX สำหรับอีเทอร์เทความเร็วสูงแบบกิกะบิตต่อวินาทีเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ตัวอย่างของมาตรฐานกิกะบิตอีเทอร์เน็ทในปัจจุนได้แก่ 1000Base-T 1000Base-LX และ 1000Base-SX เป็นต้นอีเทอร์เน็ทที่ใช้ใยแก้วนำแสงมีหลายมาตรฐานย่อยเช่น 10Base-FL (Fiber link) , 10Base-FB (Fiber backbone) และ 10 Base-FP (Passive Fiber)อีเทอร์เน็ทจะใช้โปรโตคอล CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection) เป็นตัวกำหนดขั้นตอนให้สถานีเข้าใช้สายสัญญาณ ในเครือข่ายอีเทอร์เน็ทมีสถานีจำนวนมากมักพบว่าการทำงานล่าช้า เพราะว่าแต่ละสถานีพยายามยึดช่องสัญญาณเพื่อส่งข้อมูลและเกิดการชนกันตลอดเวลาโดยไม่สามารถ กำหนดได้ว่าสถานีใดจะได้ใช้สายสัญญาณเมื่อใด อีเทอร์เน็ทจึงไม่เหมาะสมกับการใช้งานในระบบเวลาจริง

IEEE 802.4
เมื่อมีการคิดค้นแลนแบบ 802.3ก็มีการใช้แลนแบบนี้มากในสำนักงาน แต่สำหรับโรงงานอัตโนมัติ ไม่อาจใช้แลนแบบนี้ได้เนื่องจากแลน 802.3 ไม่อาจรับประกันได้ว่าในขณะเวลาที่องการส่งข้อมูลนั้นสถานีจะสามารถรับส่งข้มูลได้หรือไม่ เช่น ในการประกอบรถยนต์ เมื่อรถยนต์มาถึงหุ่นยนต์ประกอบรถยนต์แล้วหุนต้องพร้อมที่จะทำงานได้ ดังนั้นจึงมีการคิค้นวิธีการใช้ข้อมูลในสายส่ง ซึ่งแต่ละบอร์ดควมคุมจะสามารถรู้ว่าเวลานานที่สุ ดที่บอร์ดควมคุมจะต้องรอก่อนการส่งข้อมูลได้เป็นเท่าไรIEEE802.4 หรือ โทเค็นบัส มีTopology แบบ Bus เช่นเดียวกับ IEEE802.3 แมีข้อกำหนดการใช้สายสื่อสารโดยใช้ Token ทำหน้าที่เป็นเฟรมสัญญาณกำหนดจังหวะให้สถานีเข้าใช้สายสื่อสารToken จะถูกนำส่งจากสถานีหนึ่งไปยังสถานีหนึ่งและวนกลับที่เดิมเป็นวงรอบ สถานีที่ได้รับ Token จะมีสิทธิใช้สายสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลได้ สายสื่อสารในToken Bus มัก ใช้สายโคแอ็กเชียล และมีความเร้วหลายระดับคือ 1,5หรือ10 Mbpsการใช้Token ช่วยให้สถานีไม่ต้องแย่งยึดช่องสัญญาณเหมือนใน IEEE802.3 หากแต่ความซับซ้อนของโปรโตคอลทำให้ IEEE802.4 ไม่เป็นที่นิยมใช้

IEEE 802.5
IEEE802.5 หรือโทเค็นริง หรือมักเรียกว่าIBM Token Ring จัดเป็นเครือข่ายที่ใช้ Ring topology ด้วยสาย Twisted pair หรือ fiber optied อัตราการส่งข้อมูลของ Token Ring ที่ใช้โดยทั่วไปคือ4และ6 MbpsการทำงานของToken Ring จะมีเฟรมพิเศษเรียกว่า โทเค็นว่าง (free Token)วิ่งวนอยู่ในทิศทางเดียวการส่งข้อมูลจะต้องรอให้ Free Token เปลี่ยนมาเป็น เฟรมข้อมูลโดยใส่แฟล็กแสดงเฟรมข้อมูลและบรรจุ Address ชองสถานีต้นทางและสถานีปลายทางตลอดจนข้อมูลอื่นๆจากนั้นสถานีจึงปล่อยเฟรมนี้ออกไป ดังรูป เม่อสถานีปลายทางไว้และปล่อยเฟรมให้วนกลับมายั งสถานีส่ง สถานีส่งจะตรวจสอบและปล่อย Free Token คืนสู่เครือข่ายให้สถานีอื่นมีโอกาสส่งข้อมูล่อไป กลไกแบส่งผ่าน Token จัดอยู่ในประเภทประเมินเวลาได้ กล่าวคือสามารถคำนวณเวลาสูงสุดที่สถานีมีสิทธิใช้Tokenเพื่อส่งข้อมูลได้ Token Ring จึงเหมาะสำหรัระบบที่ต้องการความแน่นอนทางเวลาหรืองานแบบเวลาจริง

การเปรียบเทียบระหว่างแลน 802.2, 802.3, 802.4
โปรโตคอลของแลน 802.3 ไม่ยุ่งยากจึงไม่เหมาะสมกับการใช้ส่งข้อมุลสั้นๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แต่สถานีใดมีข้อมูลยาวๆที่ต้องการส่ง สถานีนั้นอาจจะยึดครองการใช้สาย ทำให้สถานีอื่นไม่สามารถส่งข้อมูลได้จึงไม่เหมาะกับงานควบคุมหรืองานที่ต้องส่งภายในเวลาที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นแลน802.3 ไม่สามารถกำหนดความเร่วด่วนของข้อมูลได้ ข้อเสียอีกอย่างของแลน802.3 คือการกำหนดความยาว ต่ำสุดของเฟรมข้อมูลที่64ไบต์สำหรับแลนแบบ Token Bus และToken Ringไม่เหมาะสำหรับการส่งข้อมูลสั้นๆเนื่องจากต้องเสียเวลาโอเวอร์เฮดของการโทเค็น แต่ก้รับประกันว่าทุกๆสถานีมีดอกาสที่จะส่งข้อมูลได้และยังสามารถกำหนดความเร่งด่วนของข้อมูลได้ นอกจากนั้นในกรณีที่มีการส่งข้อมูลของสถานีต่างๆมาก ประสิทธิภาพของระบบจะเกือบ100% เนื่องจากจะมีข้อมูลวนอยู่ในเครือข่ายตลอดเวลา และแบบโทเค็นบัสเหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วน(Assembly Line)ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นตรงและต้องการความสามารถในการส่งข้อมูลในเวลาที่กำหนดไว้ ข้อเสียของดทเค็นบัสคือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งสัญญาณทำงานแบบ Analog จึงทำให้ต้องใช้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญในการดูแลรักษาระบบ อีกทั้งดปรโตคอลที่ใช้ ค่อนข้างสลับซับซ้อน จึงทำให้อัตราการส่งข้อมูลของระบบไม่สูงนัก นอกจากนั้นแลนแบบนี้ไม่เหมาะสำหรับการใช้เส้นใยแก้วนำแสงเป็นสื่อส่งข้อมูล ด้วยสาเหตุเหล่านี้จึงทำให้แลนแบบToken Busมีการใช้งานน้อย แลน Token Ring นั้นมีการส่งข้อมูลแบบจุดต่อจุดซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันมานานและเป็นการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ทำให้การดุแลรักษาทำได้ไม่ยากนัก สายเคเบิลที่ใช้อาจเป็นได้ทั้งสายคู่Twisted pair สายโคแอ็กเชียลหรือ Fiber optics แต่มาตรฐานกำหนดให้เป็นสายTwisted pair หุ้มฉนวนซึ่งมีน้ำหนักเบาและราคาถูก จึงทำให้การติดตั้งง่าย นอกจากนั้นการใช้ศูนย์รวมสายทำให้แลนแบบนี้สามารถตรวจหาสายเคเบิลตลอดจนอินเทอร์เฟสบอร์ดที่เสียหายได้โดยอัตโนมัติและสามารถผ่านเลยจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นได้ ส่วนข้อเสียของโทเคนริงคือ จะต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่จัดการดุแลระบบ (Monitor station )ซึ่งหากสถานี นี้เกิดปัญหาจะทำให้การทำงานของแลนผิดพลาด

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

งานที่ 4 ข้อสอบ 5 ข้อ ระบบ topology

1.รูปแบบโทโปโลยี (topology) ของเครือข่ายหลัก ๆ แบ่งออกเป็นกี่รูปแบบ
ก. 4 รูปแบบ
ข. 5 รูปแบบ
ค. 6 รูปแบบ
ง. 7 รูปแบบ
ตอบ ง ข. รูปแบบ 1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) 2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) 3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) 4.โทโปโลยีแบบ Hybrid 5.โทโปโลยีแบบ MESH
ได้มาจาก http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

2. โทโปโลยีแบบ Mesh เป็นโทโปโลยีแบบใด
ก.เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณเกนณ์หลัก
ข.เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย
ค.เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด
ง.เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน
ตอบ ค.เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด
ได้มาจาก http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

3.ข้อใดเป็นข้อเสียของระบบโทโปโลยีแบบวงแหวน(Ring)
ก. อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
ข. ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่ายหยุดชะงักได้ง่าย
ค. การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ง. ยากต่อการเดินสายแลนและมีราคาแพง
ตอบ ข.ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
ได้มาจาก http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

4.ข้อใดเป็นข้อดีของระบบโทโปโลยีแบบดาว (Star)
ก. สามารถเพิ่ม node ได้ง่าย
ข. ไม่มีการชนกันของสัญญาณ
ค. มีการใช้สายเคเบิลน้อย
ง. มีความน่าเชื่อถือสูงเพราะมีช่องสัญญาณ
ตอบ ก. สามารถเพิ่ม Mode ได้ง่าย
ได้มาจาก http://www.geocities.com/dokmitong/p9_4.htm

5.ข้อใดเป็นข้อดีของระบบโทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring)
ก. สามารถขยายระบบได้ง่าย
ข. รูปแบบการวางสายง่ายที่สุด
ค. เปลี่ยนรูปแบบการวางสายได้ง่าย
ง. มีการใช้สายเคเบิลน้อย
ตอบ ง มีการใช้สายเคบิลน้อย
ได้มาจาก http://www.geocities.com/dokmitong/p9_4.htm

งานที่ 3 บอกข้อดีข้อเสียของ topology แบบต่าง ๆ

Topology

1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS)
เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้

ข้อดี - ข้อเสียของโทโปโลยีแบบบัส(BUS)
ข้อดี
1.ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
ข้อเสีย
1. อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
2. การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้

ได้มาจาก http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป

ข้อดี - ข้อเสียโทโปโลยีแบบวงแหวน(Ring)
ข้อดี
1. ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
2.การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
3.คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
1. ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
2.ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง

ได้มาจาก http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR)
เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป

ข้อดี - ข้อเสียโทโปโลยีแบบดาว(Star)
ข้อดี
1.การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย
1. เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่าย ในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละ ครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ

ได้มาจาก http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

4.โทโปโลยีแบบ Hybrid
เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน

ข้อดี - ข้อเสียโทโปโลยีแบบ Hybrid
ข้อดี
1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อย เมื่อเทียบกับระบบดาว2. เนื่องจากใช้สายส่งข้อมูลน้อย ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
ข้อเสีย
1. หากเกิดความเสียหายจุดใด จะทำให้ระบบไม่สามารถติดต่อกันได้ จนกว่าจะนำจุดที่เสียหายออกจาก ระบบ
2. ยากต่อการตรวจสอบหาข้อผิดพลาด เพราะอาจต้องหาทีละจุด3. การจัดโครงสร้างใหม่ค่อนข้างยุ่งยาก เมื่อต้องต้องการเพิ่มจุดสถานีใหม่ ถ้าจะทำต้องตัดสายใหม่

ได้มาจาก http://www.geocities.com/ohhonet/B3.htm
ได้มาจาก http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

5.โทโปโลยีแบบ MESH
เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก

ข้อดี - ข้อเสียโทโปโลยีแบบ Mesh
ข้อดี
1. สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด
ข้อเสีย
1. มีราคาแพง
ได้มาจาก http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm
ได้มาจากhttp://guru.google.co.th/guru/thread?tid=64853036e92035a5

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552

งานที่ 2 คำศัพท์

คำศัพท์ระบบการสื่อสารข้อมูล
Processors ประมวลผล
Computer network เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์
Translation software ซอฟต์แวร์สำหรับการแปรงรูปแบบข้อมูล
Network software ซอฟต์แวร์เครือข่าย
Application program ซอฟต์แวร์โปรแกรมประยุกต์
Topology รูปแบบโครงสร้ง
Backbone network ระบบโครงข่ายสื่อสารหลัก
Computer worm หนอนคอมพิวเตอร์
Computer virus ไวรัสคอมพิวเตอร์
Service providers ผู้บริหารเฉพาะด้าน
Netware management ผู้บริหารเครือข่าย
Response time ระยะเวลาตอบสนอง
Printer เครื่องพิมพ์
Memory หน่วยความจำ
Security ความปลอดภัย
Speed ความเร็ว
Mobile telephone โทรศัพท์เคลื่อนที่
Handheld telephone โทรศัพท์มือถือ
Car telephone โทรศัพท์ติดรถยนต์
Wireless media สือประเภทไร้สาย
Radiated media สื่อประเภทกระจายคลื่น
Inner conductor สายนำสัญญาณภายใน
Frequency ความถี่ของสัญญาณ
Bocd (บอด) เป็นการเปลี่ยนแปลงสัญญาณ
Analog data ข้อมูลแอนะล็อก
Continuaus ข้อมูลที่มีความต่อเนื่อง
Discrete การแยกออกจากกัน
Physical layout ด้านกายภาพ
Backup power ระบบสำรองไฟฟ้า
Data center ดาต้าเซนเตอร์ ศูนย์รวมข้อมูล
Harddisk ฮาร์ดดิสก์
Fire supperesion ระบบอัคคีภัย
Even parity การตรวจจำนวนคี่
Odd parity การตรวจจำนวนคู่

งานที่ 1 ข้อสอบ10ข้อ OS2

ข้อสอบ 10 ข้อ
1. หน่วยความจำสำรองที่ใช้กับระบบไมโครคอมพิวเตอร์ที่เป็นชนิด Soft Disk เราเรียกว่า

ก.Laser Disk
ข. Fixed Disk
ค. ฟล๊อปปี้ดิสก์
ง. เทปแม่เหล็ก
ตอบ ค เป็นดิสก์แบบอ่อนที่จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก สำหรับการใช้งานนั้นจะต้องมี Disk Drive เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์สำหรับการอ่านหรือเขียนข้อมูล ในปัจจุบันฟล๊อปปี้ดิสก์ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 นิ้ว

2. โทโปโลยีแบบใดที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่ายทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ และเครื่องที่เป็นผู้ที่ให้บริการ

ก. RING
ข. STAR
ค. MESH
ง. Hybrid
ตอบ ก ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์

3. ส่วนใดของระบบคอมพิเตอร์ที่เปรียบได้กับ กระดูกสันหลังของเครือบ่ายสื่อสาร
ก. composc
ข. Browser
ค. Bandwidth
ง. Bachbond
ตอบ ง ทำหน้าที่เป็นเส้นหลักในการส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายมากกว่าที่ใช้ข้อมูลกันภายใน

4. โทโปโลยีแบบใดที่ถือว่าสามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด
ก. MESH
ข. STAR
ค. RING
ง. Hybrid
ตอบ ก เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่าย

5. ประเภทของ ระบบเครือข่ายใดที่มีระบบเครือข่ายกว้างไกลหรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก
ก. BUS
ข. Man
ค. Wan
ง. Lan
ตอบ ค เป็นการสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย(Media) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพในเวลาเดียวกัน

6.การประมวลผลสัญญาณทางไฟฟ้าที่ใช้ในการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณดิจิตอล สัญญาณชนิดนี้ ใช้หลักการทำงานเทียบเท่าเลขฐานใด
ก. ระบบเลขฐานสอง
ข. ระบบเลขฐานแปด
ค. ระบบเลขฐานสิบ
ง. ระบบเลขฐานสิบหก
ตอบ ก ใช้เลขฐานสอง (Binary System) ที่มี 2 สภาวะคือ 0 และ 1 หรืออยู่ในรูปของสัญญาณทางไฟฟ้า คือ On และ Off ในการนำมาใช้แทนข้อมูลทั้งหมดภายในคอมพิวเตอร์ โดยจะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า “บิต”

7. ประเภทของระบบเครือข่ายใดที่ใช้ในระขขเครือข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตรก. Wan
ข. Man
ค. Bus
ง. Lan
ตอบ ง เป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆ

8.Topoiogy ที่เป็นรูปแบบ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่านสัญญาณแกนหลัก
ก.แบบ Bus
ข.แบบดาว
ค.แบบวงแหวน
ง.แบบ Lan
ตอบ ก เป็นสายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์

9.ในการส่ง mail จะประกบ header เข้าไ ปเรียงจากบนลงมาชั้นใดสามาจะใส่เบอร์ Port ของ Mail คือ Port 25 ได้
ก.Datalink
ข.Network
ค.Transport
ง.Physical
ตอบ ค มีบางโปรดตคอลจะให้บริการที่ค่อนข้างคล้ายกับที่มีในชั้น Network โดยมีบริากรด้านคุณภาพที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ แต่ในบางโปรโตคอลที่ไม่มีการดูแลเรื่องคุณภาพดังกล่าวจะอาศัยการทำงานในชั้น Transport นี้เพื่อเข้ามาช่วยดูแลเรื่องคุณภาพแทน เหตุผลที่สนับสนุนการใช้งานชั้นนี้ก็คือ ในบางสถานการณ์ของชั้นในระดับล่างทั้งสาม (คือชั้น Physical, Data-Link และ Network) ดำเนินการโดยผู้ให้บริการโทรคมนาคม

10.7 Layer ของ OSI Model สามารถแบ่งได้กี่กลุ่ม
ก.1
ข.2
ค.3
ง.4
ตอบ ข Upper layers โดยทั่วไปจะเป็นส่วนที่พัฒนาใน Software Application โดยประกอบด้วย Application Layer, Presentation Layer และ Session Layer Lower Layer จะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารข้อมูลซึ่งอาจจะพัฒนาได้ทั้งแบบเป็น Software และ Hardware